หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตรวจติดตามนโยบายสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่หนองบัวลำภู |
“ร่วมด้วยช่วยชาวบ้าน #ร่วมสร้างสังคมให้น่าอยู่” |
ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
นายปิยะพัทธ์ โมวพรหมานุช เกษตรและสหกรณ์จังหวัดหนองบัวลำภู |
นายชนะ ไชยฮ้อย เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู |
วันที่
15 พฤษภาคม 2561 ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบเขตตรวจราชการที่ 10 ลงพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู เพื่อตรวจราชการตามนโยบายสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
โดยมีนายปิยะพัทธ์
โมวพรหมานุช เกษตรและสหกรณ์จังหวัดหนองบัวลำภู พร้อมด้วยนายชนะ ไชยฮ้อย เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู
นำหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดหนองบัวลำภู ร่วมต้อนรับ
หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ได้พิจารณาติดตามการดำเนินงานดังนี้
1.โครงการบริหารจัดการสินค้าเกษตรครบวงจรและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร มีสินค้าเกษตรหลักของจังหวัด 4 ชนิด ได้แก่ อ้อย ข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง มีการบริหารจัดการสินค้าโดยใช้หลักตลาดนำการผลิตและมีแหล่งรับซื้อที่ชัดเจนทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่
2.สินค้าเกษตรชนิดอื่นที่น่าสนใจ ได้แก่ สินค้าโคเนื้อ และเห็ด ซึ่ง ผตร.กษ. ให้คำแนะนำ โดยเฉพาะเห็ดเป็นสินค้าที่ สามารถแนะนำให้เกษตรกรทำเพิ่ม/เสริมจากอาชีพอื่น และขอให้เพิ่มเติมองค์ความรู้เรื่องการเก็บเกี่ยวและดูแลผลผลิตให้คงความสดก่อนถึงมือผู้บริโภค รวมถึงการแปรรูป และฝากให้ทางพาณิชย์จังหวัดช่วยส่งเสริมการจัดกิจกรรมส่งเสริมการบริโภคสินค้าเกษตรในจังหวัดอย่างต่อเนื่อง
3. หน.ผตร.กษ.ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันขับเคลื่อนการบริหารจัดการสินค้าในจังหวัด โดยใช้กลไกของ อพก. ตามหลักตลาดนำการผลิต รวมทั้งติดตามสถานการณ์สินค้าเกษตรต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการแนะนำเกษตรกรในการวางแผนการปลูกที่เหมาะสม
4. ติดตามความก้าวหน้ามาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในจังหวัดหนองบัวลำภู มีการสัมภาษณ์และบันทึกข้อมูลในระบบแล้ว 82,258 ราย 6 อำเภอ 687 หมู่บ้าน 33 ชุมชน พบว่ามีความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานมากที่สุด
5.ติดตามความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ของ กษ. ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู มีเกษตรกรผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทั้งหมด6,279ราย มีเกษตรกรที่แจ้งความต้องการฝึกทักษะอาชีพแล้ว 2,537 ราย (40.40%) พบว่าหลักสูตรอบรมที่มีเกษตรกรสนใจสมัครเข้าร่วมมากกว่าเป้าหมาย ได้แก่ หลักสูตรของกรมประมง และปศุสัตว์ สำหรับการจ้างแรงงาน โครงการของชลประทาน อยู่ระหว่างการเปิดรับสมัคร
6. หน.ผตร.กษ.ให้ข้อแนะนำว่าหน่วยงานควรกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการคัดเลือกเกษตรกรเข้าอบรม โดยเฉพาะหลักสูตรที่มีเกษตรกรยื่นความประสงค์มากกว่าเป้าหมาย เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และชี้แจงเกษตรกรได้
7. งบประมาณโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ได้รับอนุมัติแล้ว ขอให้ทุกหน่วยงานเร่งดำเนินการตามแผนงานที่กำหนดไว้
8. หน.ผตร.กษ. ได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานตรวจสอบ สอดส่อง กรณีมีผู้หลอกลวงเกษตรกร ให้กู้ยืมเงิน หากพบขอให้แจ้งให้ อพก.จังหวัด และ กษ. ทราบโดยเร่งด่วน
กดชมคลิปข่าว
และ เวลา13.30 น. ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงพื้นที่เยี่ยมกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ข้าวที่ต.ฝั่งแดง อ.นากลาง โดยกลุ่มแปลงใหญ่ที่นี่ เป็นกลุ่มที่มีความเข้มแข็ง มีสมาชิกมากถึง 1,271 ราย พื้นที่ปลูกข้าว 6,355 ไร่ ผลผลิต 350 ตัน โดยจำหน่ายให้สหกรณ์ 250 ตัน และจำหน่ายให้ผู้บริโภคโดยตรง 100 ตัน
กลุ่มมีการบริหารจัดการที่ดี สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ไม่น้อยกว่า 20 % และกลุ่มนี้ยังได้รับความไว้วางใจจาก ธ.ก.ส. ในการให้สินเชื่อจำนวน 10 ล้านบาท เพื่อพัฒนายกระดับการบริหารจัดการแปลง และยังได้รับงบสนับสนุนในการสร้างลานตากข้าว และสถานที่ที่จะเป็นธนาคารข้าวของชุมชน พร้อมยกระดับเป็นสหกรณ์ในอนาคต และกลุ่มยังสามารถผลิตข้าว GAP ข้าวฮาง และข้าวที่มีชื่อเก๋ไก๋ ว่า ข้าวพรหมจรรย์ ที่มีกลิ่นหอม รสชาติอร่อย ที่สามารถขายได้ถึงกิโลกรัมละ 200 บาท
ทั้งนี้ หน.ผตร.กษ.ได้ชื่นชมเกษตรกรในความเข้มแข็งและความร่วมมือของสมาชิกในกลุ่ม และแนะนำให้เกษตรกร ลดการใช้สารเคมีในการผลิต เพื่อสุขภาพของเกษตรกร/ผู้บริโภค ให้มีการปลูกพืชผสมผสานเพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติม และปรับปรุงการจัดวางกระสอบข้าว โดยใช้ไม้พาเลทมารอง เพื่อป้องกันการเสียหายจากความชื้น
ในส่วนที่สมาชิกแปลงใหญ่ต้องการคือ ตาชั่งเพื่อมาใช้ ณ ที่ทำการวิสาหกิจซึ่งกำลังก่อสร้าง ได้มอบหมายให้ กษ. หนองบัวลำภู เตรียมการเพื่อเสนอของบของจังหวัดหากมีงบประมาณเหลือจ่ายปลายปี
จากนั้นได้เยี่ยมกลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงบ้านถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง สมาชิก 53ครัวเรือน พื้นที่ 14 ไร่ ซึ่งกลุ่มได้รับการบริจาคเพื่อให้สมาชิกซึ่งไม่มีที่ดินทำกินใช้ปลูกผัก ครัวเรือนละ 1งาน โดยไม่ใช้สารเคมี ปลูกผักตามฤดูกาล ผลผลิตที่ปลูก เช่น แมงลัก บวบ แตงกวา ชะอม สับปะรด เป็นต้น
มีรายได้เฉลี่ยวันละ 200-300บาท/ครัวเรือน และถ้าฤดูหนาวจะมีรายได้เพิ่มขึ้นตามจำนวนและประเภทผักที่ปลูก ถือว่าเป็นการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับตนเอง ซึ่งเกษตรกรสามารถเก็บผักไว้บริโภคเองและจำหน่าย โดยในช่วงหน้าหนาว แปลงผักตรงนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่นักท่องเที่ยวสามารถมาแวะชมสวนผักปลอดสาร และยังได้อุดหนุนผักของเกษตรกรที่นี่อีกด้วย
และจุดนี้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดหาแหล่งน้ำ โดยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ สูบน้ำบาดาลมาใช้ในการเกษตร ซึ่งช่วยให้กลุ่มได้เข้าถึงการเกษตรที่ปลอดภัย ถือว่าเป็นบริหารจัดการกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในการนี้หน.ผตร.กษ. ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาช่วยให้คำแนะนำเรื่องการบำรุงดินและการผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดินและพืช รวมทั้งการต่อยอดในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรเพิ่มเติมต่อไป
มีรายได้เฉลี่ยวันละ 200-300บาท/ครัวเรือน และถ้าฤดูหนาวจะมีรายได้เพิ่มขึ้นตามจำนวนและประเภทผักที่ปลูก ถือว่าเป็นการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับตนเอง ซึ่งเกษตรกรสามารถเก็บผักไว้บริโภคเองและจำหน่าย โดยในช่วงหน้าหนาว แปลงผักตรงนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่นักท่องเที่ยวสามารถมาแวะชมสวนผักปลอดสาร และยังได้อุดหนุนผักของเกษตรกรที่นี่อีกด้วย
และจุดนี้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดหาแหล่งน้ำ โดยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ สูบน้ำบาดาลมาใช้ในการเกษตร ซึ่งช่วยให้กลุ่มได้เข้าถึงการเกษตรที่ปลอดภัย ถือว่าเป็นบริหารจัดการกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในการนี้หน.ผตร.กษ. ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาช่วยให้คำแนะนำเรื่องการบำรุงดินและการผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดินและพืช รวมทั้งการต่อยอดในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรเพิ่มเติมต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น